สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานไทย

สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานไทย

วันที่ 23 มกราคม 2567 ในการประชุมคณะกรรมการสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ครั้งที่ 1/2567 เลขาธิการสมาคมฯ ดร.องอาจ กิตติคุณชัย เปิดเผยสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานไทย ดังนี้

ภาพรวมการส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องในเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าขยายตัวร้อยละ 20.4 และ 28.0 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยส่งเสริมทางบวก ได้แก่ ปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดหวานทาให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น มีสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทนต่อโรค รวมถึงราคาวัตถุดิบข้าวโพดหวานสูงขึ้น จึงจูงใจให้มีเกษตรกรทั้งรายเดิมและรายใหม่หันมาปลูกและดูแลรักษาแปลงปลูกมากขึ้น

ปี 2566 มีการส่งเสริมการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา แต่ได้รับผลกระทบในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จากพายุฤดูร้อนและฝนตกหนัก ทำให้พื้นที่เพาะปลูกเสียหายราวร้อยละ 20 และช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2566 มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้มีน้าท่วมขังในพื้นที่ปลูก เกษตรกรต้องเลื่อนแผนการปลูกออกไป 15-20 วัน บางส่วนที่ปลูกไปแล้วการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เมล็ดลีบและฝักหลอ พบโรคระบาด เช่น โรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคราน้าค้าง เมล็ดพันธุ์มีอัตราการงอกต่ำ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และขาดแคลนเมล็ดพันธุ์บางสายพันธุ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ แต่ก็ได้รับอานิสงค์จากปัจจัยส่งเสริมทางบวกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ให้ปริมาณผลผลิตในปีนี้เพิ่มขึ้นชดเชยกับพื้นที่ที่เสียหายไป

ปี 2567 คาดว่าปริมาณผลผลิตราว 5-6 แสนตัน เนื่องจากโรงงานมี stock สินค้าคงเหลือ ประกอบกับกำลังซื้อในตลาดยุโรปถดถอยจากภาวะปัญหาทางเศรษฐกิจ คู่ค้ายังมีสินค้าเพียงพอจาหน่ายในตลาดจึงไม่เร่งนาเข้าสินค้า บางส่วนชะลอการเรียกสินค้าเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลแดง ทำให้ค่าระวางเรือสูงขึ้น 3-4 เท่า บางรายหันไปซื้อสินค้าจากประเทศจีน ซึ่งราคาสินค้าถูกกว่าไทยมาก อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ในตลาดพลิกผัน เช่น ประเทศคู่แข่งอย่างสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาขาดแคลนวัตถุดิบ ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าจากประเทศไทยแทน เราอาจเพิ่มปริมาณผลผลิตถึง 7 แสนตัน

การเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 อัตราผลผลิตเฉลี่ยได้ 3 ตันต่อไร่ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออานวยต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน สำหรับการเพาะปลูกในรอบฤดูฝนนี้ หากมีน้าฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูก จะเอื้อให้มีปริมาณผลผลิตที่ดี และเกษตรกรมีรายได้มากขึ้น

แม้ว่าไทยยังครองตาแหน่งผู้นาในการผลิตและส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องของโลก ก็ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้สูงขึ้น ทั้งด้านการเพาะปลูกที่ควรนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อช่วยในการคาดการณ์ผลผลิตได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนโรคและทนแล้งมากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจข้าวโพดหวานในตลาดโลก มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น มีประเทศคู่แข่งใหม่ๆ โดยเฉพาะจีนที่มีการพัฒนาทั้งด้านการเพาะปลูกและการผลิตอย่างต่อเนื่องทาให้การส่งออกของจีนเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา รวมถึงอินเดีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งได้เปรียบประเทศไทยทั้งในด้านต้นทุนการผลิต และการจัดการพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ ยังต้องผลักดันให้มีการเจรจาเพื่อขยายเวทีเสรีการค้ากับตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

On January 23, 2024, at the meeting of Thai Food Processors’ Association, Secretary General Dr. Ongart Kittikhunchai revealed the current situation of Thai sweet corn industry as follows:

Exports of canned sweet corn in January to November 2023, both volume and value grew by 20.4% and 28.0%, respectively, with positive supporting factors including raw material quantities increasing by 60 percent due to weather conditions suitable for corn growth, resulting in a higher yield per rai. There are new breeds that have been improved to be resistant to disease. Including the price of sweet corn has increased. Therefore, it motivates both existing and new farmers to plant and maintain more plantations.

In the year 2023, there was an increase in the promotion of cultivation compared to the previous year. However, it was affected from March to April by summer storms and heavy rainfall, causing approximately 20 percent of the farmland to be damaged. Additionally, during September to October, continuous rainfall led to waterlogging in the cultivation areas. Farmers had to postpone their planting plans by 15-20 days. Some of the crops that were already planted experienced poor pollination, resulting in empty seeds and malformed cobs. Outbreaks of diseases such as leaf blight, downy mildew, and low seed germination rate were observed due to the excessively hot weather conditions. Furthermore, there has been a shortage of some sweet corn seed varieties since October 2023 onwards. Even though farmland is affected by natural disasters but it has benefited from the positive promoting factors mentioned above. This will allow the amount of production this year to increase to compensate for the damaged areas.

In 2024, it is expected that there might be volume of sweet corn to around 500-600 thousand tons. Due to the current surplus of products in factories from the previous year’s production and some market
declining due to economic challenges, trading partners have sufficient products available in the market. As a result, there is no urgency to import additional goods. Additionally, trading partners are delaying their orders due to the impact of the conflict situation in the Red Sea, leading to a three to fourfold increase in shipping costs. Furthermore, some trading partners have turned to purchasing goods from competitor countries. In 2024, Thailand might be able to produce up to 700 thousand tons of sweet corn if competitor countries face a shortage of raw materials, leading customers to turn to Thailand for their purchases.

The yield harvested in January-February 2024 is around 3 tons per rai, because of favorable weather conditions conducive to the growth of sweet corn. For the upcoming rainy season planting, it will be crucial to monitor the rainfall situation to determine its direction. Sufficient rainfall would be beneficial for the cultivation of sweet corn, leading to a good yield and higher income for farmers.

Even though Thailand currently holds a leading position in the world’s production and export of canned sweet corn, there must be continuous development in order to increase competitive potential. In terms of cultivation, it is advisable to incorporate new technologies to enhance accurate yield predictions. Additionally, the development of high-yield varieties that are disease-resistant and drought-tolerant should be prioritized. This can contribute to more efficient and resilient sweet corn production. In addition, there is a need to advocate for global trade negotiations to increase competitive opportunities even further.

Download

สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานไทย